วิธีปลูกสับปะรด

วิธีปลูกสับปะรดในร่ม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สับปะรด



1. คัดสับปะรดพันธุ์ดี
      
    ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ หรือผลไม้ชนิดไหน หัวใจของการปลูกพืชให้ได้คุณภาพดี ต้องมาจากพันธุ์พืชที่ดีเช่นกัน ฉะนั้นเราก็ควรเลือกผลสับปะรดที่เนื้ออิ่มแน่น จุกสับปะรดต้องเป็นสีเขียว ไม่เหลือง และไม่มีใบสีน้ำตาล ส่วนผลสับปะรดก็ควรมีสีเหลืองทอง ไม่เขียว หรืออ่อนจัดจนเกินไป ที่สำคัญต้องตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่า จุกของสับปะรดไม่มีแมลงมากัดกิน โดยสังเกตได้จากจุดสีเทาเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เกาะติดอยู่ตามใบ หากพบเจอแมลงกินพืชเหล่านี้ก็ต้องหาสับปะรดผลไม้มาเป็นพันธุ์แทน

          นอกจากนี้ผลสับปะรดที่เลือกต้องเป็นผลที่กำลังดี ไม่สุก หรืออ่อนจนเกินไป ซึ่งวิธีการตรวจสอบสับปะรดก็ทำไม่ยาก เพียงแค่ลองดึงจุกสับปะรดบา ๆ หากจุกสับปะรดหลุดออกอย่างง่ายดาย ก็แสดงว่า สับปะรดลูกนั้นสุกเกินไปที่จะนำมาเพาะเป็นพันธุ์แล้วล่ะค่ะ



2. เตรียมจุกสับปะรดสำหรับลงปลูก

          หลังจากได้ผลสับปะรดคุณภาพดีมาแล้ว (ควรคัดเลือกสัปปะรด 2 ลูก เพื่อป้องกันความผิดพลาด) ต่อจากนี้ให้คุณใช้มือบิดจุกสับปะรดออกมา โดยหลีกเลี่ยงการใช้มีดตัดจุกสับปะรด เพราะความคมของมีดอาจจะทำให้คุณตัดสับปะรดเข้าถึงเนื้อ เป็นเหตุให้สับปะรดเน่าเสียทั้งลูกได้

          เมื่อบิดจุกสับปะรดออกมาได้แล้ว คราวนี้ให้ใช้มีดค่อย ๆ เล็มโคนจุกสับปะรดให้มีลักษณะ เรียบเสมอกัน โดยในระหว่างที่ใช้มีปาดบาง ๆ ก็พยายามสังเกตด้วยว่า เราปาดถึงเนื้อเยื่อ และรากของสับปะรด (ปุ่มกลม ๆ เล็ก ๆ ลักษณะคล้ายตาสับปะรด) แล้วหรือยัง ถ้าปาดจนเริ่มเห็นรากสับปะรดแล้ว ขั้นต่อไปให้ดึงกาบใบสับปะรด โดยเริ่มจากส่วนโคนจุกสับปะรดก่อน ดึงกาบใบออกไปเรื่อย ๆ ประมาณ 3-4 ชั้น เป็นการเปิดทางให้รากงอกออกมาได้สะดวกขึ้น แต่ก่อนจะนำจุกสับปะรดปักล งกระถาง ควรตากจุกสับปะรดประมาณ 2-3 วัน โดยคว่ำยอดจุกลงสู่พื้นดิน เพื่อฆ่าเชื้อโรค และให้แสงแดดเลียรอยแผลจนแห้ง และรัดตัว ป้องกันจุกสับปะรดเน่าเสีย


3. เพาะพันธุ์ขยายราก

          เมื่อเราได้จุกสับปะรด และทำการเปิดรากสับปะรดเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะนำจุกสับปะรดไปปลูก ต้องนำมาแช่น้ำเพื่อขยายรากสับปะรดก่อน โดยขั้นตอนนี้ให้ใช้โหลพลาสติก หรือแก้วขนาดใหญ่ ใส่น้ำสะอาด แล้วนำจุกสับปะรดไปปักแช่ไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ และระหว่างนั้นก็ต้องเปลี่ยนน้ำในขวดโหลทุก ๆ 2-3 วันด้วย ทั้งนี้ควรวางขวดโหลไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ คือ ไม่ร้อนจัด หรือเย็นจัดเกินไป หรืออาจจะวางขวดโหลไว้บนหลังตู้เย็นก็ได้
  


4. ปลูกลงกระถาง

          หลังจากเพาะจนรากสับปะรดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ให้คุณเตรียมกระถางสำหรับปลูกสับปะรดได้เลย โดยเลือกกระถางปลูกต้นไม้ความสูงประมาณ 8 นิ้ว และมีรูระบายน้ำมากพอสมควร จากนั้นรองก้นกระถางด้วยหิน เทให้หนาประมาณ 2 นิ้ว ตามด้วยลงดินร่วนซุยผสมปุ๋ยคอกในอัตราส่วน 50 ต่อ 50 เสร็จแล้วให้ปักจุกสับปะรดลงไป กลบดินให้แน่น

          ทั้งนี้ในระยะแรกให้คุณหมั่นรดน้ำต้นสับปะรดพอประมาณ รักษาระดับความชื้นของดินให้สมดุล ไม่เปียกจัด และไม่แห้งระแหงจนเกินไป ที่สำคัญในช่วง 6-8 สัปดาห์แรก จะเป็นช่วงที่รากสับปะรดกำลังเติบโต และสร้างความแข็งแรงให้ตัวเอง ดังนั้นทางที่ดีอย่าเพิ่งใส่ปุ๋ย หรือรบกวนต้นสับปะรดนะคะ และหลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน รากของต้นสับปะรดจะเริ่มแข็งแรง พร้อมจะงอกหน่อ ซึ่งหากอยากตรวจสอบความสมบูรณ์แข็งแรงของราก ก็ทำได้โดยลองดึงจุกสับปะรดเบา ๆ หากต้นสับปะรดยึดเกาะกับดินในกระถางอย่างเหนียวแน่น ก็หมายความว่ารากมีความแข็งแรงมากพอแล้ว และในระยะนี้คุณจะเริ่มเห็นต้นสับปะรดงอกรากใหม่แล้ว
          แต่ในกรณีที่รากสับปะรดยังอ่อนแอ หรือมีปัญหาเกิดขึ้น คุณจะสามารถดึงจุกสับปะรดออกมาจากกระถางได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเมื่อเจอแบบนี้ก็คงต้องตรวจ สอบความผิดปกติกันหน่อย ง่าย ๆ ก็แค่สำรวจดูรากว่าเน่า หรือมีเชื้อรารบกวนหรือไม่ และถ้าเจอปัญหาเหล่านี้ ก็คงต้องเริ่มกระบวนการเพาะจุกสับปะรดกันใหม่ตั้งแต่ต้นเลยล่ะ แต่คราวนี้อย่าเผลอมือหนักรดน้ำจนชุ่มแฉะเกินไป



5. เฝ้าดูการเจริญเติบโต


     การปลูกสับปะรดต้องอย่าใจร้อน เพราะกว่าสับปะรดจะโตพอจะแตกหน่อข้างได้ก็ใช้เวลาร่วมปีกว่า ๆ ซึ่งในระหว่างนั้นคุณก็อาจจะเจอปัญหาใบตรงกลางจุกงอกขึ้นใหม่ ในขณะที่ใบข้าง ๆ ที่เป็นใบเดิมที่ติดมากับจุกกลับกลายเป็นใบสีเหลือง หรือเน่าไปก็มี แต่ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยการลิดใบเหลืองทิ้ง และจำกัดปริมาณการรดน้ำสับปะรดเพียงสัปดาห์ละครั้งเท่านั้นก็พอ
     

6. เปลี่ยนกระถางเมื่อถึงเวลา

          ทันทีที่สังเกตเห็นว่า ต้นสับปะรดเจริญเติบโตดีวันดีคืน จนเริ่มจะใหญ่โตคับกระถาง ก็สมควรแก่เวลาต้องหากระถางขนาดใหญ่กว่าเดิมมาเปลี่ยนที่อยู่ให้เขาแล้ว โดยการเปลี่ยนกระถางแต่ละครั้ง ก็ควรถือโอกาสเปลี่ยนดินไปด้วยเลย ซึ่งครั้งนี้คุณอาจจะเพิ่มปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยบำรุงผลเข้าไปอีกก็ได้ แต่ที่สำคัญคือต้องเหลือช่องว่างก้นกระถาง ให้น้ำระบายออกไปได้อย่างสะดวก หมดปัญหาดินชื้นแฉะจนรากเน่าเสียอีกต่อไป ทั้งนี้คุณอาจจะใช้เทคนิควางก้อนอิฐ หรือก้อนหินไว้ที่ก้นกระถาง เหมือนอย่างตอนปลูกสับปะรดกระถางที่แล้วก็ได้ แล้วอย่าลืมกดหน้าดินให้แน่นสักหน่อย รากจะได้อยู่ภายใต้ดินอย่างมั่นคง

ความคิดเห็น